ขออภัย !

ขออภัย อยู่ในช่วงปรับปรุง ที่ล่าช้าเพราะข้อจำกัดหลายๆอย่าง...

15 กรกฎาคม 2552

ชื่อคุณในภาษาเอลฟ์คืออะไร มาดูกัน


ตั้งใจจะหาชื่อเด็ก แต่ไปเจอชื่อเอลฟ์เข้า (Elf) มาดูกันว่าชื่อของเรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าเป็นชื่อเอลฟ์เนี่ย จะออกมาเป็นยังไง
The Elvish Name Generator
เวบไซต์ที่จะเปิดเผยชื่อลับของคุณ
หรือถ้าอยากรู้ว่าชื่อฮอบบิทของเราชื่ออะไร ก็สามารถดูได้ที่นี่
The Hobbit Name Generator
และนี่คือชื่อลับของปรัชญาครับ...
ชื่อเอลฟ์: Saeros Fëfalas <<< ชื่อเอลฟ์เท่ดี เอ้าใครเก่งภาษาออร์ค ภาษาเอลฟ์ช่วยแปลที
ชื่อฮอบบิท: Olo Overhill of Nobottle <<< ที่แท้ก็เป็นญาติห่าง ๆ กับโฟรโด้นะนิ
ยาวไปหน่อย...แต่ก็เท่ไปอีกแบบ (Olo คล้ายๆกับอะไรน้า... 555+) แล้วชื่อของคุณล่ะ ?


ข้อมูลจาก : jennessa.exteen.com

ไก่เหลืองหางขาว มี 3 เฉดสี


ไก่เหลืองหางขาว มี 3 เฉดสี คือ

1. สีเหลืองแก่สดในดังสีทองคำ เรียกเหลืองใหญ่ เป็นพญาไก่ สุดยอดของไก่ทั้งหมดทั้งปวง

2. สีเหลืองกลางดังสีทองทา เรียกเหลืองรวกหรือเหลืองเวก เป็นรองเหลืองใหญ่

3. สีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว เรียกเหลืองดอกโสนหรือเหลือง เป็นรองจากเหลืองรวก สรุป ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของไก่เหลืองหางขาวตัวผู้ รูปร่างสูงระหง ตระหง่าน สง่างาม หน้าแหลมคางรัด หงอนเล็กเป็นหงอนหินกลมกลึง หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อม ตาสีเหลืองอ่อน หรือขาวซีด มีประกายแจ่มใส เรียกตาปลาหมอตาย ปากมีร่องน้ำ สีปาก แข้ง เกล็ด เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองดังสีงาช้าง รับกับตา ผิวหน้าราบเรียบแดงสดใส ขนพื้นตัวสีดำสนิท ขนปิดหู ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าเป็นสีเหลืองสดใสสีเดียวกัน หางพัดยาวดำ หางกระรวยดำยาว มีสีขาว ปีกในสีดำ ปีกไชนอกแซมขาว ที่สำคัญมีหย่อมกระ 5 หย่อมที่หัว หัวปีก และข้อขา คนโบราณเรียกไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่เหลืองหางขาวที่เป็นไก่งามตามตำราโบราณก็คือ “ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์” ซึ่งเป็นหนึ่งในไก่มงคลโบราณ 5 ประเภท คือ ไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่พญาหงส์ ไก่ทรงไตรภพ ไก่จบกระบวนยุทธ และไก่พูดรู้ภาษา ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ปัจจุบันสายพันธุ์แท้ๆ ที่มีลักษณะประจำพันธุ์ครบ จะหายากมาก

ลักษณะเด่นเหลืองหางขาวเพศเมีย


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย

ไก่เหลืองหางขาวตัวเมีย จะแตกต่างไปจากไก่ตัวเมียพันธุ์อื่น มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญคือ ขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดหรือบางตัวอาจมีจุดกระขาวอยู่ 5 หย่อมหรือจุด คือ หัวหนึ่ง หัวปีกสอง ข้อขาอีกสองรวมเป็นห้าหย่อมเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง ปุ่มเดือย เล็บ เกล็ด เป็นสีขาวอมเหลืองตลอด แบบสีงาช้าง ปากมีร่องน้ำ 2 ข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ตาสีเหลืองอ่อนมีเส้นเลือดสีแดงในตาเห็นได้ชัดเจน ตามีประกายแจ่มใสแบบตัวผู้ ปีกในสีดำ ปีกบนนอกไชปีกแซมขาวเหมือนตัวผู้ ลักษณะอื่นๆจะเหมือนๆไก่เหลืองหางขาวตัวผู้ ไก่เหลืองหางขาวตัวเมีย จะแตกต่างไปจากไก่ตัวเมียพันธุ์อื่น มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญคือ ขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดหรือบางตัวอาจมีจุดกระขาวอยู่ 5 หย่อมหรือจุด คือ หัวหนึ่ง หัวปีกสอง ข้อขาอีกสองรวมเป็นห้าหย่อมเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง ปุ่มเดือย เล็บ เกล็ด เป็นสีขาวอมเหลืองตลอด แบบสีงาช้าง ปากมีร่องน้ำ 2 ข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ตาสีเหลืองอ่อนมีเส้นเลือดสีแดงในตาเห็นได้ชัดเจน ตามีประกายแจ่มใสแบบตัวผู้ ปีกในสีดำ ปีกบนนอกไชปีกแซมขาวเหมือนตัวผู้ ลักษณะอื่นๆจะเหมือนๆไก่เหลืองหางขาวตัวผู้

ลักษณะเด่นเหลืองหางขาวเพศผู้

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
• รูปร่างลักษณะ ไก่เหลืองหางขาวมีรูปร่างสูงระหง คอยาวสง่างาม และปราดเปรียว ไหล่กว้าง คางรัด อกเป็นมัด กล้ามเนื้อรูปใบโพธิ์ ลำตัวยาวจับ 2 ท่อนบานหัวบานท้าย ไหล่หนาใหญ่ บั้นท้ายโต กระดูกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ยาวแข็งแรง แข้งกลมกลึงประดุจลำหวาย หางยาวดกเป็นฟ่อนดูสวยงามยิ่งนัก
• ตะเกียบ แข็งชิด หนาแข็งแรง ปลายโค้งเข้าหากัน
• ใบหน้า แหลมเกลี้ยงเกลาและกลมกลึงแบบหน้าเหยี่ยวหรือหน้านกยูง
• หาง หางพัดยาว สีดำ และเรียงเป็นระเบียบจากล่างขึ้นบน ข้างละประมาณ 7 เส้น เส้นหางพัดข้างละ 2 เส้นเป็นหางยาวเรียกว่า “หางรับ” หางกระรวยดกก้านหางแข็งยาวพุ่งตรงเป็นฟ่อน ปลายหางโค้งลงเล็กน้อยจรดพื้น หางกระรวยคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะขาวปลอด หางกระรวยรองจะมีสีขาวปลายดำพุ่งตรงคู่กับกระรวยเอกเป็นฟ่อน กระเบนใหญ่ ขั้วหางชิด
• ปาก ใหญ่ ปลายปากงองุ้มพองามแบบปากนกแก้ว มีร่องปากลึกทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า ร่อน้ำหรือรางน้ำ สีปากขาวอมเหลืองไม่มีสีอื่นปะปน สีปากรับกับสีแข้ง เล็บและเดือย ปากล่าง กรามแข็งแรงรับกับปากบนพอดี
• แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ล่ำสัน ยาวแบบไม้กระบอง แข้งเล็กเรียวกลมแบบลำหวาย
• จมูก เด่นชัด รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบสีเดียวกับปาก
• เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองสีเดียวกับปาก เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วเรียบเป็นระเบียบ
• ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ดวงตาสีเหลืองอ่อน มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตากลมมีประกายแจ่มใส ขอบคิ้วนูนเป็นเส้นขนานโค้งตามเบ้าตา ดูสวยงามมาก
• นิ้ว ยาวกลมปลายเรียวแบบลำเทียน มีท้องปลิง มีปุ่มตรงข้อนิ้วทำให้ยืนได้ดี
• หงอน เล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนปิดกดรัดกระหม่อม ผิวหงอนบางเป็นกำมะหยี่ หงอนสีแดงสดใสไม่ล้ม ไม่พับ
• เดือย เดือยตรง แกนใหญ่ ปลายโค้งงอนปัดไปตามก้อย เดือยสีขาวอมเหลือง รับกับสีแข้งและปาก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่เดือยงาช้างปลายงอนแบบไปตามก้อยเป็นเดือยแทงปวดเจ็บลึก
• หู ตุ้มหู รูหูกลม มีขนปิดรูสีเดียวกับสร้อย ตุ้มหูรัดตึงไม่หย่อนยาน สีแดง สดในไม่มีสีขาวปน
• ขน ขนพื้นตัวสั้นแน่น บริเวณหน้าคอถึงหน้าอกจะมองเห็นหนังสีแดง ขนบริเวณใต้ปีก ใต้อกแน่น ขนช่วงท้องเป็นปุย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและระย้าเป็นขนละเอียด ปลายแหลมเส้นเล็ก ก้านแข็ง เป็นแผงสีเหลืองสดใสดังกับสีทองคำ ขนสร้อยคอยาวประบ่าเรียก “สร้อยต่อ หรือ ประบ่า” ขนระย้ายาวประก้นขนสีเหลืองจะมี 3 เฉดสี คือ เหลืองแก่ เรียกเหลืองใหญ่ เหลืองกลางเรียกเหลืองรวกเหลืองอ่อนเรียกเหลืองดอกโสน ขนหางพัดมีสีดำ ขนกระรวยสีขาว
• เหนียง เหนียงรัดกลมกลึงกับคาง ไม่หย่อนนาน สีแดงสดใสเหมืองสีหงอน กระปุกหางมีขนาดใหญ่
• กระโหลก กะโหลกหัวอวบกลมกลึงยาว 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาต
• กระปุกน้ำมัน เ ป็นกระปุกเดียว
• คอ คอใหญ่ยาวมั่นคงโค้งไปข้างเล็กน้อย กระดูกปล้องคอถี่ ชิด แน่นร่องคอกับไหล่ชิดกัน ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่าต่อกับขนสร้อยหลังเล่นสร้อยอยู่ตลอดเวลา
• กิริยาท่าทาง ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่สกุลสูง เรียกว่า พญาไก่ เวลาจะยืน เดิน วิ่ง ชน หรือ กระพือปีกและขัน จะแสดงอาการไม่เหมือนไก่พันธุ์อื่นๆ เช่น ยืนข้อขาตรง ตัวตรงปีก ปลายหางจรดพื้น ยืนเต็มเท้า สะพัดคอเล่นสร้อยท่าทางทะมัดทะแมงระวังตัวอยู่ตลอดเวลา เวลาเดินจะย่างเท้าขึ้น แล้วกำนิ้วทั้งหมด เวลาเหยียบเท้าลงจะแบนิ้วทั้งหมด เดินอย่างทหาร เวลาวิ่งจะวิ่งด้วยปลายเท้า เวลาชนจะเขย่งยืนด้วยนิ้ว อุ้งไม่ติดพื้น ย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ ชอบกระพือปีก และตีปีกแรง เสียงดัง ขันกระชากกระชั้น เสียงดังก้องกังวานกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ ซึ่งทำให้ไก่อื่นๆ เกรงกลัว เวลาต่อสู้จะแสดงอาการสู้แบบไม่สะทกสะท้านหรือหวาดกลัว เป็นไก่เลี้ยงง่ายเชื่องแสนรู้ต่อเจ้าของ เป็นไก่มงคลตามตำราโบราณเรียก “ไก่พระเจ้าห้าพระองค์” ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์ หรือไก่เจ้าเลี้ยง ไก่พระนเรศวร ถือเป็นสุดยอดของไก่เหลืองหางขาว
• ปีก ปีกยาวใหญ่ถึงก้น ปีกเป็นลอนเดียวไม่ห่าง ขนปีกเรียงเป็นระเบียบ ปีกท่อนในสีดำ ปีกท่อนนอกแซมขาวขนสร้อยปีกสีเหลืองเหมือนสร้อยหลังและสร้อยคอ เมื่อหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบมาเล็กน้อย เมื่อกางปีกจะมีสีขาวช่วงไชปีกนอก

ข้อมูลจาก: rakbankerd.com

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ไก่เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลืองหางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา
ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด ครั้งหนึ่งไก่ไทยชนกับไก่พม่าหน้าพระที่นั่ง ไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำของพระมหาอุปราชาคอหักล้มลงและแพ้ ทำให้พระมหาอุปราชทรงอับอาย กล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิว่า "ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้" จากพระราชดำรัสที่ทรงกล่าวโดยไม่สะทกสะท้านและมั่นพระทัยในไก่เหลืองหางขาวของพระองค์ ทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว หาหนทางกลั่นแกล้งและกำจัด เป็นผลทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก: rakbankerd.com

ไก่เหลืองหางขาว

ลักษณะไก่เหลืองหางขาว

มีถิ่นกำหนดเดิมอยู่ที่บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ที่ฉลาดปราดเปรียว อดทน ลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเหมือนกันตลอด มีจุดขาว 5 แห่ง คือ ที่ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง บางตำราเรียกว่า “พระเจ้า 5 พระองค์” เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นสีเหลืองเหมือนกันตลอด ขนสีตัวเป็นสีดำ ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีขาวอมเหลืองคล้ายสีงาช้าง ลูกตาสีเหลืองอ่อน "เรียกว่าตาปลาหมอตาย" ส่วนเพศเมียมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดมีกระขาว 2 หย่อมเหมือนกัน

ไก่


ไก่ (อังกฤษ: Chicken) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

03 กรกฎาคม 2552

เกร็ด

เกร็ด
-ควาย ในภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว เป็นที่มาของวงดนตรีคาราบาว
-รถไถที่นำมาใช้แทนแรงงานควาย เรียกว่า "ควายเหล็ก"
-พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มโครงการธนาคารกระบือ (Buffalo Bank Project)
ขึ้นที่ จ.ปราจีนบุรี
-ในประเทศไทยมีประเพณีวิ่งควายที่จังหวัดชลบุรี ในประเทศเวียดนามมีประเพณีชนควายที่จังหวัดหายฟ่อง
-มีการนำควายมาเลี้ยงเพื่อการท่องเที่ยว อย่างเช่น บ้านควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
-ควายบ้านที่นำไปปล่อยไว้ในป่า หรือหนีเข้าไปอยู่ในป่า จนกระทั่งมีวิถีชีวิต ลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนไปจากความเป็นควายบ้าน มีคำเรียกว่า "ควายปละ" (ข้อมูลคุณมาโนช พุฒตาล การจัดรายการวิทยุ 99.5MHz ออกอากาศวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)

อุปนิสัย


อุปนิสัย
ควายชอบออกหากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปรักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราวๆเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน เท่าที่ทราบควายมีอายุยืน 20-25 ปี

สายพันธุ์


สายพันธุ์

-Kingdom Animalia

-Phylum Chordata

-Subphylum Vertebrata

-Class Mammalia

-Subclass Theria

-Infraclass Eutheria

-Order Artiodactyla

-Family Bovidae

-Subfamily Bovinae

-Genus Bubalus

-Species Bubalus bubalis

แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (swamp bufffalo) ควายแม่น้ำ (river buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ใน Family และ Genus เดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้

ควายปลัก เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด

ควายแม่น้ำ พบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ นิลิ ราวี เมซานี เซอติ และเมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่

ลักษณะทั่วไป


ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1.5 ปี ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี

ควาย (กระบือ)


ควาย หรือ กระบือ
จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับงานเกษตรกรรมของประเทศทางเอเซียมากที่สุด เพราะ ชาวนานิยมเลี้ยงควายเป็นแรงงานเพื่อไว้ไถนา บ้างก็ใช้ควายเป็นพาหนะ ในการเข้าไปทำไร่ทำนา ในประวัติศาตร์ชาติไทย นายทองเหม็นแห่งหมู่บ้านบางระจันก็ขี่ควายออกไปรบ บ้างก็ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ควายจึงมีประโยชน์หลายประการ ปัจจุบันมีการใช้งานควายน้อยลง เพราะนิยมใช้รถไถ แทน